​16 ไอเดียแบ่งห้องน้ำส่วนเปียก-แห้ง ให้สวยงามในพื้นที่จำกัด

Anuwat Anuwat
流白, 潤澤明亮設計事務所 潤澤明亮設計事務所 Casas de banho escandinavas
Loading admin actions …

ปัจจุบันห้องน้ำได้รับความสนใจในการตกแต่งที่มากขึ้น เห็นได้ชัดจากตลาดวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งและก่อสร้างมีสินค้าจากห้องน้ำให้เลือกใช้ที่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น วัสดุปูพื้นโทนสีต่างๆ สุขภัณฑ์ที่ทันสมัย และของตกแต่งอื่นที่เกิดจากการ DIY แต่เชื่อหรือไม่ว่าทุกคนมักหลงลืมการจัดการพื้นที่ภายในเรื่องส่วนเปียก-ส่วนแห้ง เพราะเป็นปัจจัยในหลากหลายด้านในการทำให้ห้องดูสวยงามและน่าใช้งาน

ข้อดีของการจัดการส่วนเปียก – ส่วนแห้งในห้องน้ำนั้น สามารถแบ่งโซนการใช้งานภายในให้ดูมีระเบียบ ทำความสะอาดง่าย ที่สำคัญวัสดุปูพื้นและยาแนวมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยภาพที่เห็นเด่นชัดและนิยมนำมาใช้คือ การกั้นห้องอาบน้ำให้เป็นสัดส่วนด้วยประตูกระจกหรือม่านลวดลายสวยงาม ซึ่งในจุดนี้ควรเลือกใช้วัสดุปูพื้นที่มีความปลอดภัยสูง ไม่ลื่นง่าย ระบายน้ำดี ที่สำคัญมีความทนทานสูงเพราะต้องได้รับน้ำอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามการจัดการในลักษณะนี้หลากหลายท่านอาจสงสัยว่าถ้าหากมีห้องน้ำขนาดเล็กจะสามารถแบ่งโซนดังกล่าวได้อย่างไร โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยแบบคอนโดมิเนียม

ซึ่งในวันนี้ทาง Homify ผู้นำด้านการสร้างแรงบันดาลใจในการออกแบบและตกแต่งพร้อมนำตัวอย่างและไอเดียการแบ่งห้องน้ำส่วนเปียก-แห้ง ให้สวยงามในพื้นที่จำกัดมานำเสนอ เพื่อให้ทุกท่านสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมเพื่อการอยู่อาศัยต่อไป

1.​ประตู

หนึ่งแนวทางการตกแต่งที่เด่นชัดที่สุดสำหรับการแบ่งห้องน้ำส่วนเปียก-แห้ง คือ การนำเอาประตูมาติดตั้งเพื่อแบ่งโซนห้องอาบน้ำและห้องน้ำ เพราะการอาบน้ำส่วนใหญ่น้ำจะกระเซ็นออกมาทำให้พื้นที่ภายในห้องน้ำเปียกกระจายไปทั่ว การติดตั้งประตูจึงสามารถป้องกันการกระเซ็นของน้ำได้ดี ดูเป็นระเบียบ ที่สำคัญทำความสะอาดง่าย สำหรับประตูที่นำมาใช้ในการแบ่งโซนห้องน้ำส่วนใหญ่จะออกแบบบานประตูให้ดูทืบเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัว เปิด-ปิดได้อย่างสะดวกสบาย ดีไซน์รูปแบบเรียบง่ายมุ่งเน้นความสวยงามในสไตล์โมเดิร์น

2.หินอ่อน

หินอ่อนอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความสนใจในการนำมาตกแต่งภายในห้องน้ำ เพราะโดดเด่นด้วยความสวยงาม ให้อารมณ์และความรู้สึกที่อบอุ่น สดชื่นและรู้สึกใกล้ชิดกับธรรมชาติ ลวดลายสวยงาม ข้อเด่นของหินอ่อนนั้นคือทำความสะอาดง่าย ระบายน้ำได้ดี ไม่อันตราย เหมาะแก่การนำมาตกแต่งเพื่อแบ่งห้องน้ำได้ทั้งส่วนเปียกและส่วนแห้ง ที่สำคัญมีราคาไม่แพงสามารถนำมาตกแต่งห้องน้ำในขนาดกะทัดรัดได้เป็นอย่างดี

3.กระเบื้องเซรามิก

หนึ่งวัสดุปูพื้นที่ได้รับความสนใจมากเช่นกันในการแบ่งโซนเปียกและแห้งของน้ำได้ดีคือ กระเบื้องเซรามิก โดยข้อดีของวัสดุดังกล่าวไม่ได้มีดีแต่ความสวยงามยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานเป็น 10 ปี ทนทาน ทำความสะอาดง่ายเหมาะกับทุกการใช้งานภายในห้องน้ำ ปัจจัยสำคัญราคาไม่สูง มีพื้นผิวให้เลือกหลากหลาย

4.กระเบื้องลวดลายสวยงาม

โทนสีและลวดลายจากกระเบื้องเซรามิกเป็นอีกหนึ่งสัดส่วนที่สามารถแบ่งโซนระหว่างห้องน้ำและห้องอาบน้ำได้อย่างเด่นชัดด้วยความสวยงาม โดยเทคนิคง่ายๆสำหรับการปูกระเบื้องในห้องน้ำ คือ ควรใช้สีของสุขภัณฑ์ให้เป็นโทนสีอ่อนและตัดด้วยกระเบื้องที่มีสีเข้มกว่าจะช่วยยกระดับให้ห้องน้ำดูสวยงามและน่าอยู่อาศัยขึ้นมาถนัดตา

5.ไม้

หนึ่งวัสดุธรรมชาติที่มีคุณภาพและคุณประโยชน์ที่หลากหลายคงต้องยกให้เนื้อไม้ ซึ่งวัสดุดังกล่าวสามารถนำมาออกแบบและตกแต่งด้วยการปูพื้นในห้องน้ำได้ทั้งส่วนแห้งและส่วนเปียก โดยในส่วนแห้งสามารถให้อารมณ์และความรู้สึกที่อบอุ่นและใกล้ชิดกับธรรมชาติ มีโทนสีที่สวยงาม คลาสลิค สำหรับส่วนที่เปียกไม้สามารถดูดซับความชื้นจากน้ำได้ดี ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการลื่น นัยยะสำคัญมีความยืดหยุ่นสูง ทนทานต่อทุกการใช้งาน

6.​ใช้รูปแบบกระเบื้องที่แตกต่าง

ห้องน้ำขนาดสมส่วนหลังนี้เลือกใช้กระเบื้องมาตกแต่งอีกเช่นเคย แต่สิ่งที่แตกต่างและแสดงออกถึงความสร้างสรรค์สำหรับการแบ่งห้องน้ำส่วนเปียก-แห้ง ได้อย่างเด่นชัด เห็นได้จากพื้นผิว ลวดลาย และขนาด โดยข้อดีของกระเบื้องที่นำมาตกแต่งในห้องน้ำส่วนใหญ่จะมีความทนทาน แข็งแรง สอดรับและยกระดับสุขภัณฑ์ให้ดูโดดเด่น

7.​ผนังสีดำ

นอกจากพื้นที่นิยมสร้างความแตกต่างสำหรับการแบ่งโซนห้องน้ำส่วนเปียก-แห้ง ผนังเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถจัดการได้ ดังเช่นไอเดียบุคดังกล่าวที่ตกแต่งบริเวณผนังห้องอาบน้ำด้วยเฉดสีดำเต็มทั้งพื้นที่ซึ่งตัดกับผนังห้องน้ำที่เลือกโทนสีขาวมาปรับใช้ได้อย่างสวยงาม ทั้งนี้จุดเด่นของโทนสีดำสามารถเพิ่มความเด่นชัดของเฟอร์นิเจอร์หรือสุขภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี ให้อารมณ์และความรู้สึกที่มีพลัง ที่สำคัญการตัดของสองโทนสีสามารถทำให้ภาพรวมดังกล่าวออกมาดูทันสมัย

8.​กระเบื้องโมเสค

วัสดุปูพื้นสำหรับห้องน้ำหลังนี้เลือกสร้างความต่างด้วยการใช้กระเบื้องโมเสคมาปูพื้นเต็มทั้งพื้นที่ นอกจากความสวยงามยังโดดเด่นในเรื่องความสะดวกสบายที่ปูได้ง่ายและใช้งานได้ในทันที พร้อมกันนี้สามารถใช้งานได้ทั้งสัดส่วนแบบเปียกและแห้งของห้องน้ำได้เป็นอย่างดี

9.เรียบง่าย

อีกหนึ่งห้องน้ำที่ออกแบบอย่างชัดเจนระหว่างโซนเปียก-แห้ง ได้อย่างชัดเจนด้วยโทนสีและวัสดุปูพื้น-ผนัง สำหรับโซนเปียกของห้องน้ำหลังนี้เลือกใช้วัสดุปูพื้นและผนังจากไม้เป็นหลักตัดกับอลูมิเนียมมันวาวสุดทันสมัยจากฝักบัว โดยความโดดเด่นของไม้ให้อารมณ์และความรู้สึกที่อบอุ่นและใกล้ชิดกับธรรมชาติ ด้านโซนแห้งเลือกใช้กระเบื้องเซรามิกโทนสีขาวมาปูทับเต็มทั้งพื้นที่ ข้อดีของวัสดุดังกล่าวมีราคาไม่สูง ทำความสะอาดง่าย ทนทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโทนสีดังกล่าวให้อารมณ์และความรู้สึกที่สดใหม่ ดูสะอาด สะท้อนถึงความเรียบง่ายแต่เพียบพร้อมไปด้วยความสวยงาม

10.​ห้องน้ำใต้หลังคา

ห้องน้ำหลังนี้ปลูกสร้างอยู่บริเวณใต้ห้องหลังคา แบ่งสัดส่วนห้องน้ำแบบเปียก-แห้ง อย่างชัดเจนด้วยโทนสีดำและสีเนื้อไม้ เพิ่มความส่องสว่างจากภายในในสองมุมห้องด้วยการเจาะทำหน้าต่างพร้อมกับตกแต่งด้วยกระจกใส สำหรับบริบทภายในเพียบพร้อมไปด้วยสุขภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ และของเครื่องใช้ในห้องน้ำอย่างครบครัน หนึ่งมุมห้องน้ำที่สร้างความเด่นชัดของโซนการใช้งานได้อย่างเหมาะสมและสวยงาม

11.ห้องน้ำโทนสีขาว

สำหรับห้องน้ำขนาดกะทัดรัดหลังนี้ออกแบบอย่างเรียบง่ายและแบ่งโซนเปียก-แห้งได้อย่างเด่นชัดด้วยการติดตั้งกระจกใส พร้อมกับตกแต่งผนังห้องอาบน้ำด้วยกระเบื้องโมเสคโทนสีเขียวมรกตควบคู่ไปด้วย สามารถเสริมให้ห้องอาบน้ำดูสวยงามและแตกต่างจากห้องน้ำได้อย่างชัดเจน สำหรับภาพรวมมุมอื่นๆ ได้มุ่งเน้นการใช้โทนสีขาวเป็นหลักซึ่งนอกจากสวยงามและดูสะอาด ยังสนับสนุนในเรื่องของความส่องสว่างให้กับภายในพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา

12.ห้องน้ำไม้

ห้องน้ำหลังนี้เลือกใช้วัสดุธรรมชาติอย่างเช่นไม้มาตกแต่งและสร้างความต่างระหว่างการใช้งานทั้งเปียกและแห้งได้ดี ซึ่งข้อดีของไม้สามารถดูดซับความชื้นและระบายน้ำได้ดี ให้อารมณ์และความรู้สึกที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ สำหรับไม้ที่นำมาใช้ในมุมดังกล่าวส่วนใหญ่จะปูพื้น-ผนัง เพื่อเน้นความเด่นชัดให้กับเฟอร์นิเจอร์ ทั้งนี้ไม้สามารถดูแลรักษาง่าย ทำความสะอาดสะดวกสบาย จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมไม้เป็นส่วนประกอบหลักที่ได้รับความนิยมในการนำมาตกแต่งภายในห้องน้ำทั้งแบบเปียกและแห้ง

13.พื้นผิวห้องน้ำที่หลากหลาย

ห้องน้ำหลังนี้เลือกใช้วัสดุที่หลากหลายในการปูพื้น ซึ่งนอกจากความสวยงามยังสอดรับกับการใช้งานในรูปแบบเปียกและแห้งได้เป็นอย่างดี โดยในส่วนแห้งของห้องน้ำหลังนี้นั้นเลือกใช้ไม้และคอนกรีตแบบเปลือยมาตกแต่ง เพราะมีความงดงาม ทันสมัย ดูแลรักษาง่ายและไม่แพง สำหรับส่วนเปียกช่างผู้เชี่ยวชาญยังคงเลือกไม้มาเป็นส่วนประกอบในบริเวณที่ยืนอาบน้ำเพราะสามารถดูดความชื้นและระบายได้ได้อย่างยืดหยุ่น สำหรับบริบทโดยรอบเลือกใช้คอนกรีตมาเป็นส่วนเสริมซึ่งสามารถสนับสนุนให้ห้องน้ำดูน่าใช้งาน

14.​โทนสีเทา

อย่างที่กล่าวมาเบื้องต้นโทนสีคือหัวใจสำคัญสำหรับการแบ่งสัดส่วนการใช้งานของห้องน้ำและห้องอาบน้ำได้แบบง่ายๆ โดยไอเดียบุคภาพนี้ได้เลือกโทนสีเทามาเป็นแกนหลักในการตกแต่งผ่านการใช้วัสดุตกแต่งและก่อสร้างจากกระเบื้องเซรามิก เพราะข้อดีของวัสดุดังกล่าวสามารถระบายน้ำได้ดี ทนทาน ทำความสะอาดง่าย มีพื้นผิวที่ปลอดภัยสำหรับการใช้งาน

15.ลวดลายพื้นกระเบื้องที่สร้างสรรค์

homify Casas de banho escandinavas

ห้องน้ำขนาดกะทัดหลังนี้แม้มีพื้นที่จำกัดแต่สามารถแบ่งสัดส่วนการใช้งานทั้งเปียกและแห้งได้เป็นอย่างดีด้วยการติดตั้งบานประตูกระจกที่สามารถเปิด-ปิดและป้องกันน้ำกระเซ็นระหว่างการอาบน้ำได้อย่างสะดวกสบาย แต่ไฮไลท์ที่สำคัญที่มาพร้อมกับความสร้างสรรค์ต้องยกให้กับกระเบื้องปูพื้นลวดลายสวยงามที่แสดงถึงความเป็นศิลปะได้อย่างมีรสนิยม

16.​ให้อารมณ์และความรู้สึกที่นุ่มลึก

บริเวณพื้นสำหรับห้องน้ำหลังนี้เลือกใช้กระเบื้องเซรามิกมาตกแต่งคู่กับหินอ่อน โดยจุดเด่นของทั้งสองวัสดุนั้นนอกจากความสวยงามยังสามารถระบายน้ำได้ดี ทนทานสูง และทำความสะอาดได้ง่าย ที่สำคัญความแตกต่างของขนาดสามารถแบ่งโซนห้องน้ำและห้องอาบน้ำได้เป็นอย่างดี พร้อมกันนี้บริเวณผนังได้นำเอากระเบื้องโมเสคมาตกแต่งเสริมในเรื่องความทันสมัยและมีสไตล์ ซึ่งการผสมผสานจากหลากหลายวัสดุปูพื้น-ผนัง สามารถให้อารมณ์และความรู้สึกที่ดูสดชื่น สบายตา ได้อย่างนุ่มลึก

หลากหลายวัสดุก่อสร้างและตกแต่งที่นำมาเสนอเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการแบ่งห้องน้ำส่วนเปียก-แห้งให้สวยงามแม้มีพื้นที่จำกัด เพราะวัสดุแต่ละชนิดต่างมีความโดดเด่นในแบบเฉพาะ อาทิ ทำความสะอาดง่าย แข็งแรง สวยงาม ระบายน้ำได้ดี ที่สำคัญมีความปลอดภัย ซึ่งทั้งหมดเป็นปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้ห้องน้ำของทุกคนออกมาน่าอยู่อาศัยได้อย่างมีสไตล์และรสนิยม

Precisa de ajuda com um projeto em sua casa?
Entre em contacto!

Destaques da nossa revista